Skip to content
Home » 10 กลโกงผู้รับเหมาและวิธีป้องกัน

10 กลโกงผู้รับเหมาและวิธีป้องกัน

  • by

ปัญหาระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับเหมาก่อสร้าง ต่อเติม เป็นปัญหาที่เกิดมายาวนานและเป็นปัญหาหลักของใครหลายๆคน ว่าจะเลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้ผู้รับเหมาที่ดี และจะป้องกันอย่างไรไม่ให้ถูกผู้รับเหมาโกงได้

วันนี้ STEPHOME จึงได้รวบรวมกลโกงของผู้รับเหมาที่พบเจอได้บ่อย พร้อมวิธีการป้องกันมาให้ทุกคนได้ป้องกันและตรวจสอบกันอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นครับ โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ผู้รับเหมาทิ้งงาน ปัญหาที่เจอกันเป็นประจำสำหรับผู้รับเหมาที่ทิ้งงานแล้วเชิดเงินหนี ทำงานช้า ไม่เสร็จตามแผนที่วางเอาไว้มาก

2. วัสดุก่อสร้างไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้ เป็นกรณีที่ผู้รับเหมาโกงวัสดุโดยเอาวัสดุเกรดต่ำกว่าที่ได้ตกลงกันไว้มาใช้ในการก่อสร้างต่อเติมไม่ตรงตามแบบที่ผู้ว่าจ้างต้องการ

3. สัญญาคลุมเครือ ไม่ชัดเจน อาศัยช่องว่างทางกฎหมาย สัญญาจ้างที่ผู้รับเหมาส่วนใหญ่ร่างมาจะอาศัยช่องว่างทางกฎหมายเพื่อให้ตัวเองได้เปรียบเพื่อหลีกเลี่ยงการต่อสู้ในชั้นศาลเมื่อเกิดการฟ้องร้องขึ้น ดังนั้นการทำสัญญาต้องทำด้วยความรอบคอบเพราะผู้ว่าจ้างอาจจะเสียเปรียบในกรณีที่ต่อสู้ในชั้นศาลได้

4. เบิกเงินก่อนล่วงหน้า ปัญหาการเบิกเงินก่อนล่วงหน้าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นประจำโดยผู้รับเหมาชอบอ้างว่าเงินไม่พอจะซื้ออุปกรณ์ ไม่พอสำหรับค่าใช่จ่ายสำหรับจ่ายค่าคนงานทำให้นายจ้างใจอ่อนยอมให้ผู้รับเหมาเบิกเงินล่วงหน้าไปก่อน เมื่อผู้รับเหมาได้เงินครบก็ทิ้งงานทันที

5. ผู้รับเหมาเปลี่ยนทีมช่างชุดเดิม ในช่วงแรกผู้รับเหมาจะนำช่างที่มีประสบการณ์ทำงานเข้ามาทำงานทำให้ผู้ว่าจ้างเชื่อใจในฝีมือการทำงานว่าน่าจะทำออกมาได้ดี แต่หลังจากนั้นก็จะเปลี่ยนเอาช่างมือใหม่เข้ามาทำ จากเดิมที่มีช่างฝีมือจริงอยู่ 5 คน หลังๆอาจจะเหลือเพียง 2 คน ทำให้งานที่ออกมาค่อนข้างล่าช้าไม่เสร็จตามกำหนด และไม่ปราณีตอย่าที่คิดเอาไว้

6. ผู้รับเหมาไม่เข้าหน้างาน อีกปัญหาคือผู้รับเหมาไม่เข้าไปดูงานปล่อยให้ลูกน้องทำไปเรื่อยๆไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องทำให้งานที่ออกมาอาจจะมีความคลาดเคลื่อน และคนงานอาจโกงได้

7. ผู้รับเหมาขาดความรับผิดชอบ นัดเจอผู้รับเหมาไม่เป็นนัด รับปากจะทำให้แต่เอาเข้าจริงๆกลับไม่ได้ทำ ติดต่อยาก ปิดมือถือ และอาจจะถึงขั้นทิ้งงานในที่สุด

8. โกงเงินมัดจำ ผู้รับเหมาบางรายจะเรียกเงินมัดจำก้อนแรกสูงๆ เช่น 40% ของมูลค่างานทั้งหมด เมื่อได้เงินมัดจำไปแล้วก็ทิ้งงานทันทีหรืออาจจะทำงานช้า ไม่ค่อยเข้างานจนเราต้องเลิกจ้าง เป็นต้น

9. แก๊งหลอกลวงทาง Internet ปัจจุบันโลกออนไลน์เข้าถึงผู้คนมากขึ้นทำให้ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างหลายรายใช้ช่องทางออนไลน์ในการติดต่อทางธุรกิจและมีผู้ว่าจ้างหลายคนที่ใช้สื่อออนไลน์ในการประกาศหาผู้รับเหมา ทำให้ตกเป็นเหยื่อของผู้รับเหมาที่ต้องการจะหลอกลวง ดูภายนอกอาจจะทำให้ดูน่าเชื่อถือพูดจาหว่านล้อมสุดท้ายก็เชิดเงินหนี

10. ฮั้วประมูล เป็นกรณีที่มักจะเกิดขึ้นกับวงการก่อสร้าง โดยผู้รับเหมามีความต้องการร่วมกันที่จะให้ราคารับเหมาไม่ต่ำจนเกินไปหรือไม่ให้ถูกตัดราคาจากผู้รับเหมาที่ยื่นประมูลร่วมกัน ทำให้ผู้รับเหมาต่างฝ่ายต่างเข้ามาคุยเพื่อหาจุดที่ลงตัวที่สุดในการประมูลต่างฝ่ายต่างได้ผลประโยชน์ (Win-Win) แล้วค่อยแบ่งผลประโยชน์ตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ การฮั้วประมูลจะทำให้ราคาค่าก่อสร้างโดยรวมดูสูงกว่าปกติจากผู้ยื่นประมูลจะส่งผลกระทบต่อผู้ว่าจ้างทำให้ต้นทุนการก่อสร้างสูงกว่าความเป็นจริง


💡 สำหรับคำแนะนำวิธีการแก้ปัญหาและป้องกันผู้รับเหมาโกง มีดังนี้

  • การทำสัญญาควรทำให้ละเอียดเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ควรใช้เพียงแค่คำพูดในการสั่งงาน เพราะถ้าหากทำมาผิดจากที่ตกลงกันก็จะมีหลักฐานไว้สำหรับยืนยันกับผู้รับเหมาได้
  • ควรทำบัญชีแสดงปริมาณวัสดุ B.O.Q. (Bill of Quantities) ปริมาณ ราคา แบรนด์สินค้าที่จะสั่งเข้ามาให้ชัดเจนถูกต้องตามแบบที่ต้องการ
  • การจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเหมาควรแบ่งจ่ายออกเป็นหลายๆงวดพื่อไม่ให้เงินที่จ่ายในแต่ละครั้งเยอะจนเกินไป และยังเป็นแรงจูงใจให้ผู้รับเหมารีบทำงานให้เสร็จด้วย หลีกเลี่ยงปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน การจ่ายเงินมัดจำอาจจะจ่ายเพียง 10% ก่อนเพื่อดูความเชี่ยวชาญ ความถนัดของผู้รับเหมาก่
  • ถ้าผู้รับเหมาขอเบิกเงินค่างวดล่วงหน้าหรือมีข้ออ้างว่าเงินไม่พอจะซื้อวัสดุทำให้ก่อสร้างต่อไม่ได้ ผู้ที่เป็นผู้ว่าจ้างไม่ควรใส่ใจและไม่ควรใจอ่อนเพราะตอนที่ผู้รับเหมาประเมินงานผู้รับเหมาต้องมีเงินพร้อมสำหรับการก่อสร้างอยู่แล้ว
    ถ้าผู้รับเหมาไม่มีเงินแล้วมีการอ้างเหตุผลต่างๆมากมาย ก็ควรเลิกจ้างครับ เพราะถึงอย่างไรเราก็จ่ายเงินเป็นงวดๆ มีเงินเหลือเพียงพอสำหรับจ้างผู้รับเหมาชุดใหม่เข้ามาอยู่แล้ว
  • ในสัญญาควรมีแผนการจ่ายเงินที่ชัดเจนว่างานผ่านไปกี่เปอร์เซ็นต์จะจ่ายอย่างไรเพื่อไม่ให้ถกเถียงกันตอนหลัง และควรทำเป็นลายลักษณ์อักษรให้รับทราบทั้งสองฝ่าย
  • ผู้ว่าจ้างควรจะเข้าไปตรวจดูงานที่ผู้รับเหมาทำบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ผู้รับเหมาทำงานออกนอกลู่นอกทางและยังเป็นวิธีการป้องกันการโกงวัสดุก่อสร้างผิดจากที่ตกลงกันไว้
    การเข้าไปดูงานควรเข้าไปแบบสุ่มเวลาไม่ควรไปเวลาเดิมทุกครั้งและยังทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วยครับ

กลโกงผู้รับเหมาและวิธีป้องกัน

ใส่ความเห็น